"ฝ้า" กับวิธี รักษาฝ้า

ฝ้า…คำนี้สั้นมากกกก แต่เป็นแล้ว เป็นยาวววว

สำหรับหลายๆ คนที่กำลังกังวลว่า ‘ฝ้า’ ที่เป็นอยู่นั้น สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ และวิธีรักษาควรทำอย่างไร?!?!

วันนี้มีคำตอบมาฝากกันค่าเพราะฝ้าถือเป็นปัญหาผิวหนังที่สร้างความหนักใจให้กับหลายๆคนเลยทีเดียวเลย

ที่สำคัญคือเพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว หากรักษาไม่ถูกวิธีก็ทำให้ฝ้าไม่จางลง และถ้าบางทีฝ้าที่เกิดอาจจะลามทั่วใบหน้ามากขึ้นกว่าเดิม วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับฝ้ากันให้มากขึ้นดีกว่า และมาดูแลเค้าอย่างถูกวิธีกันค่ะ

ไปค่ะหมอกุ้งพาไป

ฝ้า

ฝ้าไม่ทำให้เกิดอาการอย่างอื่นนอกจากด้านความงามเท่านั้น ส่วนใหญ่พบในหญิงวัยกลางคน อายุประมาณ 30-40 ปี ในจำนวนผู้ที่เป็นฝ้าทั้งหมดร้อยละ 90 เป็นผู้หญิง

‘คำนี้สั้นมากกกก’ แต่เป็นแล้ว ‘เป็นยาวววว’

ฝ้า คือ สภาวะที่ผิวหนังมีสีคล้ำกว่าปกติ ผิวมีสีไม่สม่ำเสมอกัน เป็นรอยด่างดำเป็นแผ่นๆ และถ้ารักษาฝ้าได้ไม่ดีอาจจะแผ่ขยายบริเวณที่เกิดออกไปรอบๆเป็นวงกว้าง

ฝ้า

ฝ้ารักษาให้หายขาดได้หรือไม่!?!?!

ถ้าเป็นฝ้าตื้น หรือเพิ่งเริ่มเป็น อาจจะจางลงเยอะมากๆ จนแทบหายหมดเหมือนมองด้วยตาเปล่า แต่ถ้าคุณเป็นฝ้าแล้วยังไม่ดูแลรักษาหน้าให้ดี หรือไม่หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นฝ้าก็จะเป็นมากขึ้น ลึกขึ้น และขยายขนาดใหญ่ขึ้น ถ้าเป็นเยอะและไม่สามารถรักษาฝ้าให้หายขาดได้ 100% แต่เราสามารถรักษาให้ฝ้าจางลงได้ หรือฝ้าบางส่วนอาจจะสามารถรักษาให้หายได้แต่อาจจะไม่ทั้งหมด ดังนั้นถ้าเริ่มเป็นฝ้าแล้วควรรีบดูแลรักษาทันที ดูแลแต่เนิ่นๆ นะคะ

ฝ้า

ฝ้าพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อัตราส่วนของหญิงต่อชายเท่ากับ 12:1 พบมากในวัยกลางคนอายุประมาณ 30-40 ปีขึ้นไป

มาดูกันค่ะว่า สาเหตุของฝ้า เกิดจากอะไร

ฝ้า

เนื่องมาจากเจ้าเม็ดสีเมลานินนั้นมีหน้าที่กรองรังสียูวี เมื่อผิวได้รับแสงแดดมากขึ้น เมลานินก็จะถูกผลิตออกมามากขึ้นตามไปด้วย โดยรังสีที่มีผลต่อการเกิดฝ้าคือ “รังสี UVA” ซึ่งรังสียูวีเอจะมีช่วงคลื่นที่ยาวกว่ารังสียูวีบี จึงสามารถทำลายผิวได้ลึก จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเมื่อตากแดดนาน ๆ แล้วผิวถึงคล้ำเสียได้อีกด้วย

ฝ้า

กรรมพันธุ์ พบว่าผู้ป่วยโรคฝ้ามากกว่าร้อยละ 30 มีประวัติคนในครอบครัวเป็นฝ้าด้วย

ฝ้า

‘ฮอร์โมน’ ก็เป็นปัจจัยทำให้เกิดฝ้าที่สำคัญ เชื่อว่าฝ้าเกิดจากการที่ฮอร์โมนเพศหญิงคือเอสโทรเจน และโปรเจสเทอโรน กระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสีให้สร้างเม็ดสีมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อโดนแสงแดด จึงพบฝ้ามากใน

หญิงตั้งครรภ์ ที่มีปริมาณฮอร์โมนเพิ่มขึ้นจากการตั้งครรภ์

หญิงที่กินยาคุมกำเนิด ฝ้าเกิดขึ้นในคนที่กินยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของเอสโทรเจน และโปรเจสเทอโรน 

หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนที่ได้รับฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน

ผู้ป่วยโรคไทรอยด์มีโอกาสเป็นฝ้ามากกว่าคนปกติถึง 4 เท่าตัว

เครื่องสำอาง พบว่าเครื่องสำอางบางตัวทำให้เกิดฝ้าได้ 

ยาบางชนิด พวกยากันชัก เช่น ไดเฟนิล ไฮเดนโทอิน (diphenyl hydantoin) มีแซนโทอิน (mesantoin) 

ขาดสารอาหาร บางคนที่ขาดสารอาหารก็อาจทำให้เกิดฝ้าได้อีกด้วยด้วย

ฝ้า
ฝ้า

การรักษาฝ้า

หลักการรักษาฝ้า มีดังนี้
1. พยายามหาสาเหตุ และแก้ไข หรือหลีกเลี่ยง (ข้อนี้สำคัญที่สุด) เช่น
– เลี่ยงการรับประทานหรือฉีดยาคุมกำเนิด (หากเลี่ยงได้นะคะ)
– ใช้ครีมกันแดดอย่างถูกวิธี และถูกชนิด (เดี๋ยวหัวข้อนี้กุ้งจะมาพูดอย่างละเอียดค่า)
– หลบเลี่ยงแสงแดดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรอยู่กลางแดดในช่วงแดดจัด และควรใช้ร่ม แว่นตากันแดด หมวกปีก ให้เป็นนิสัย
– แก้ไขภาวะผิดปกติทางการแพทย์ต่าง ๆ
– หยุดเครื่องสำอางที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ใช้เครื่องสำอางค์ที่ปลอดภัย ไว้ใจได้

2. ยารักษาฝ้า (รักษาโดยแพทย์)
ในปัจจุบันมียาทาฝ้าชนิดต่าง ๆ วางขายมากมายในท้องตลาด ผู้ป่วยควรศึกษาส่วนประกอบและคุณภาพของครีมดังกล่าวให้ดีพอก่อนการตัดสินใจ เพราะทางการแพทย์พบว่ามียาฝ้าจำนวนมากที่วางขาย โดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อผู้ป่วยใช้แล้วทำให้เกิดการระคาย บวมแดงในระยะแรกที่ใช้ และถึงแม้ว่าครีมบางชนิดไม่เกิดผลข้างเคียงในระยะแรก แต่อาจทำให้เกิดผิวบางแดง มองเห็นเส้นเลือดฝอย กลายเป็นฝ้าเส้นเลือด ซึ่งรักษาให้หายยากมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยบางรายกลับมีหน้าดำมากยิ่งกว่าเดิมจากการแพ้หรือจากการใช้ยาฝ้าเป็น เวลานาน ที่เรียกว่า ภาวะโอโครโนซิส (Ochronosis) ดังนั้นผู้ป่วยควรไปรับการตรวจรักษาจากแพทย์ผิวหนังโดยตรง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว

3. ทำหัตถการโดยแพทย์ อาทิ
3.1 ลอกฝ้า (Chemical peeling) คือ การผลัดเซลล์ผิวที่ทำโดยแพทย์เพราะใช้ความเข้มข้นสูง หรือ ตัวยาเฉพาะ เช่น AHA, TCA, Jessner’s solution , sensi peel ช่วยกำจัดเม็ดสีเดิมที่มีอยู่ออกไป เหมาะกับฝ้าตื้นมากที่สุด
3.2 ยารับประทาน เชื่อว่าช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสี
– Transamic acid , grape seeds
– Vitamin C etc
3.3 เลเซอร์ ข้อนี้ต้องระวังและทำด้วยการมีความรู้ความชำนาญอย่างมาก และค่อยๆใจเย็นในการทำในแต่ละเคส
– QS-NdYAG, Alexandrite, Ruby
– Picosecond laser
– Fractional laser
3.4 นอกจากนี้คือการทำ meso-nonneedle ในการผลักวิตามินเพื่อลงไปช่วยในการลดการทำงานของเม็ดสีให้ดีขึ้นอีกด้วย และยังมีการฉีดสารบางชนิดที่ช่วยในการรักษาฝ้า เช่น
Localized intradermal microinjection of tranexamic acid เป็นต้น

ขอขอบคุณบทความดีๆ จากหมอกุ้งแห่งกรวิกกาคลีนิค 
เครดิตรูปภาพจาก Kornvikkaclinic แฟนเพจ

error: Content is protected !!